top of page

THE HISTORY OF

HORROR FILM MUSIC

      ภาพยนตร์สยองขวัญ มีมาตั้งแต่ช่วงคาบเกี่ยวระหว่างปลายศตวรรษที่ 19 เข้าศตวรรษที่ 20 หรือราวๆ 100 ปีที่แล้วเลยทีเดียว วันนี้เราเลยจะมาสำรวจกันว่าดนตรีประกอบภาพยนตร์สยองขวัญมันมีที่มาที่ไปอย่างไร มีบทบาทอะไรบ้าง และที่สำคัญ.. ความน่ากลัวของมันวิวัฒนาการมายังไง ถึงได้หลอกหลอนเราได้มาเป็นร้อยปี

Silent Film Era (1890-1927)

     ภาพยนตร์สยองขวัญเรื่องแรกๆนั้นจะเป็น “หนังเงียบ” แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นดนตรีตะวันตกได้พัฒนามาถึงจุดที่ค่อนข้างจะอิ่มตัวแล้ว มีระบบการบันทึกโน้ตที่มีมาตรฐาน ด้วยเหตุนี้ดนตรีจึงถูกนำมาสนับสนุนในภาพยนตร์เงียบเพื่อสร้างบรรยากาศและเล่าเรื่อง

ด้วยเหตุนี้ ดนตรี ก็เลยถูกนำมาสนับสนุนภาพยนตร์เงียบเพื่อช่วยสร้างบรรยากาศและเล่าเรื่อง โดยมักจะมีการจ้างนักเปียโน, นักออร์แกน, หรือแม้กระทั่งวงออร์เคสตราขนาดเล็กเพื่อบรรเลงประกอบการฉายภาพยนตร์อยู่เสมอ ดนตรีประกอบภาพยนตร์ในยุคนี้อาจจะเป็นสกอร์เป็นเรื่องเป็นราวเลย หรืออาจจะเป็นการบรรเลงแบบด้นสด (improvisation) ของนักเปียโนหรือนักออร์แกนก็ได้

The Cabinet of Dr. Caligari (1920)
     ภาพยนตร์สยองขวัญที่โดดเด่นในยุคนี้ได้แก่เรื่อง The Cabinet of Dr. Caligari (1920) ซึ่งดนตรีประกอบถูกเขียนขึ้นใหม่ (re-scored) หลายครั้ง และสกอร์ดนตรีประกอบดั้งเดิมของ Nosferatu ก็ไม่สามารถอยู่รอดมาถึงปัจจุบันได้ ความไม่แน่นอนและไม่ลงตัวของสกอร์นี้ ทำให้เราไม่สามารถวิเคราะห์ดนตรีประกอบภาพยนตร์สยองขวัญสองเรื่องดังกล่าวได้ เพราะการฉายหนังแต่ละครั้ง แต่ละที่ อาจจะใช้ดนตรีที่ไม่เหมือนกันเลยก็เป็นได้

Psycho (1960) จุดเปลี่ยนที่สำคัญ

     คิดว่ามันก็น่ากลัวนิดๆ แต่ถ้าลองฟังดีๆ สกอร์มันแค่ให้ความรู้สึก “ผิดปกติ” เหมือนมีอะไรที่ไม่คาดคิดกำลังจะเกิดขึ้นในการเดินทางครั้งนี้เฉยๆ แต่ไม่ได้ใช้เสียงดังอึกทึกของออร์เคสตราเหมือนภาพยนตร์สยองขวัญเรื่องก่อนๆ

เทคนิคของ Bernard Hermann คือการค่อยๆ แทรกดนตรีเข้ามาอย่างแนบเนียน (Subtle) ทำให้คนดูไม่แน่ใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต ฆาตรกรอาจจะโผล่มาหรืออาจจะไม่โผล่มาก็ได้ การสร้างความรู้สึกไม่ชอบมาพากลแบบนี้ ก็เพื่อปูบรรยากาศให้กับเทคนิกอีกอย่างนึงที่เรียกว่า “Jump Scare” ซึ่งก็คือการทำให้คนดูสะดุ้งตกใจ

     เทคนิก Jump Scare ในภาพยนตร์เรื่อง Psycho ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เพราะมันส่งอิทธิพลให้ภาพยนตร์สยองขวัญเรื่องอื่นๆ ต่อมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน จนเดี๋ยวนี้มันกลายเป็นเอกลักษณ์ของหนังสยองขวัญไปซะแล้ว

2001 : A Space Odyssey (1968)

     ฟังผ่านๆ อาจจะรู้สึกว่าดนตรีประกอบมันถูกเขียนขึ้นมาเพื่อฉากนี้โดยเฉพาะ แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ ดนตรีถูกเขียนขึ้นมาเป็นดนตรีสำหรับการแสดงคอนเสิร์ตตามปกติ แต่ผู้กำกับใช้วิธีตัดภาพให้เข้ากับแทร็กดนตรีที่มีอยู่แล้วเพื่อสื่อความหมายที่เขาต้องการ

Jaws

     พูดถึงความแนบเนียนหรือ subtlety นั้น ภาพยนตร์เรื่อง Jaws (1975) ถือเป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ ในการสร้างความน่ากลัวด้วยความแนบเนียนและลึกลับ

  โดยสกอร์ของ John Williams ใช้ theme ของปลาฉลามที่สร้างจากโน้ตแค่ 2 ตัว (เป็นการใช้ leitmotif) แต่จังหวะของโน้ตสองตัวนี้จะบ่งบอกคนดูว่าปลาฉลามเข้าใกล้ตัวละครแค่ไหนแล้ว เพราะยิ่งใกล้ จังหวะของโน้ต 2 ตัวนี้ก็จะเร็วขึ้นเรื่อยๆ ถือเป็นเทคนิกที่เรียบง่ายแต่ได้ผลอย่างมาก

Insidious (2010)

     Stanley Kubrick (1928 - 1999) เป็นผู้กำกับที่มีอิทธิพลอย่างมากในวงการภาพยนตร์คนหนึ่ง ภาพยนตร์ของเขาส่วนมากดัดแปลงมาจากวรรณกรรมและเรื่องสั้น โดดเด่นด้วยการใช้มุมกล้อง (cinematography) และการใช้ดนตรีที่มีอยู่แล้ว (pre-existed music) แต่นำมาใส่ในบริบทใหม่ของภาพยนตร์เพื่อให้สื่อความหมายใหม่ เราเรียกเทคนิกนี้ว่า “Repurposed Music”

     เทคนิกการใช้ repurposed music ยังคงมีให้เห็นอยู่เรื่อยๆ ในปัจจุบัน บางครั้งดนตรีก็ไม่ได้สอดคล้องไปกับภาพเสมอไป แต่ใส่เข้ามาเพื่อสร้าง contrast และทำให้เกิดความรู้สึกหลอนแปลกๆ แบบผิดที่ผิดเวลา อย่างเช่นในภาพยนตร์เรื่อง Insidious (2010) 

Presence

HORROR FILM MUSIC

     คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดนตรีมีบทบาทอย่างมากในการสร้างสรรค์ดนตรีประกอบภาพยนตร์ในยุคนี้ ทั้งการอัดเสียง การสังเคราะห์เสียง และการผสมเสียงต่างๆ เข้าด้วยกันด้วย Digital Audio Workstation (DAW) 

     ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีนี้มีอิทธิพลในการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการทำเพลงของ film composer และช่วยเปิดทางให้กับการออกแบบเสียง (Sound Design) เพื่อใช้ประกอบภาพยนตร์มากขึ้น โดย composer สามารถออกแบบเสียงได้ตามจินตนาการของตัวเอง หลุดออกจากข้อจำกัดของเครื่องดนตรีหรือเสียงในชีวิตประจำวัน

     สำหรับภาพยนตร์สยองขวัญในยุคนี้ ได้รับอิทธิพลอย่างมากจาก Sound Design เช่นกัน สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือความนิยมในการใช้ Low Frequency Effect หรือเสียงต่ำๆ ที่สังเคราะห์ขึ้นเพื่อสร้างความน่ากลัว เราลองเปรียบเทียบ approach แบบเก่ากับแบบใหม่ จากหนังสองเรื่องนี้ดู

1. Rosemary’s Baby (1968)

ตัวอย่าง : Rosemary's Baby (สังเกตดนตรีประกอบตั้งแต่ 2:25 เป็นต้นไป)

     สำหรับ approach แบบเก่านั้น สกอร์ค่อนข้างให้ความสำคัญกับการใช้เครื่องดนตรีออร์เคสตราในการสร้าง musical texture มี tempo มี pulse ที่เชื่อมกับการเคลื่อนไหวของตัวละคร มีทำนอง มีฮาร์โมนี่ เป็นดนตรีประกอบที่มีสีสันกว่า

2. Insidious (2010)

ตัวอย่าง : Insidious (เริ่มดูจาก 0:18)

สกอร์ของ Insidious อาศัยความน่ากลัวจาก Sound Design เป็นหลัก จะเห็นว่า composer ใช้ Low Frequency Effect หรือเสียงต่ำๆ ลากยาวๆ และให้ความสำคัญกับการสร้างบรรยากาศให้เข้ากับบริบทของหนัง โดยอาจผสมเสียงของอะไรเข้าด้วยกันก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นเสียงออร์แกนิกหรือเสียงสังเคราะห์

bottom of page